การฟ้อนรำในทางนาฏศิลป์ มีการใช้หลักกายวิภาคและการเคลื่อนไหวอวัยวะร่างกายตามจังหวะเสียงเพลงโดยเฉพาะเพลงไทยเดิม ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำชาติที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งท่าฟ้อนรำดังกล่าวมีการปรับปรุงและประยุกต์จนมาถึงปัจจุบัน และนับวันจะมีการสูญหายหรือขาดการอนุรักษ์ เนื่องจากมีการแทรกแซงจากต่างประเทศ ที่จะทำให้ศิลปะดังกล่าวอาจมีการสูญหายหรือได้รับการสนใจที่ลดลงจากวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน ทางอาจารย์ผู้สอนในรายวิชา AN1003 กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปีการศึกษา 2563     ได้พิจารณาเห็นว่า เนื้อหาในรายวิชาในหัวข้อ ระบบโครงร่าง ระบบกล้ามเนื้อ และระบบประสาท เป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยเฉพาะในท่ารำไทย ที่มีทิศทางการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ อ่อนช้อย สวยงาม ซึ่งมีการเคลื่อนไหวอวัยวะในทุกส่วนของร่างกาย เช่น หัว ตา ไหล่ แขน มือ นิ้ว ลำตัวที่ต้องโยกย้ายไปตามเสียงเพลง รวมถึงการเคลื่อนไหวหัวเข่า ขณะที่ต้องสลับขาเปลี่ยนท่า  ทั้งนี้มีการศึกษาวิจัย “การรำไทย” จะมีผลต่อสมอง คือ ทำให้สมองได้ใช้งาน ในการจดจำท่าการเดิน และการย่างก้าวขณะฟ้อนรำ เป็นต้นว่าท่านี้จะเดินหน้ากี่ก้าว และต้องถอยหลังกี่ก้าว เมื่อสมองได้ใช้งานก็จะช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมได้ เรียกได้ว่าเป็นการออกกำลังที่พัฒนาทั้งร่างกายและสมองไปพร้อมๆ กัน

จึงจัด โครงการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการอนุรักษ์ท่ารำไทยสำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รายวิชา  AN1003 กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์) ปีการศึกษา 2563  ระหว่างวันที่  1 – 30 เมษายน 2564 เพื่อให้นักศึกษาที่ นำเนื้อหาเกี่ยวกับระบบโครงร่าง ระบบกล้ามเนื้อ และระบบประสาท มาประยุกต์กับท่ารำไทย  ที่มีการใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย รวมทั้งการใช้ข้อต่อ และการควบคุมจากระบบประสาท โดยให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ถึงท่ารำต่าง ๆ กับเนื้อหาในรายวิชา ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์  การประยุกต์  การสืบค้น และการนำเสนอ ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ และการประยุกต์ใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ

ใส่ความเห็น